
อะซีโทคลอร์ (acetochlor)
ชื่อสามัญ อะซีโทคลอร์ (acetochlor)
สารสำคัญ 2-chloro-N-ethoxymethyl-6′-ethylacet-o-toluidide ………50% W/V EC
ผลิตภัณฑ์ของ Hangzhou Qingfeng Agrochemical Co., Ltd., PRC.

ประโยชน์ ใช้ก่อนวัชพืชงอก (pre-emergence) ในข้าวโพด เพื่อกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ เช่น หญ้านกสีชมพู หญ้าดอกขาว และหญ้าตีนนก และวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักเบี้ยหิน และน้ำนมราชสีห์เล็ก
วิธีใช้ ใช้อัตรา 400-500 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 100-125 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน หลังปลูกข้าวโพด ขณะดินที่มีความชื่น
วิธีเก็บรักษา ต้องเก็บ อะซีโทคลอร์ (acetochlor) ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และไม่ให้ถูกแสงแดด สถานที่เก็บต้องแห้งและเย็น ห่างไกลจากเด็ก อาหาร น้ำดื่ม สัตว์เลี้ยงและเปลวไฟ
คำเตือน อะซีโทคลอร์ (acetochlor) เป็นวัตถุอันตรายที่มีพิษ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังนี้
- ห้าม ดื่มน้ำ กินอาหารหรือสูบบุหรี่ในขณะปฏิบัติงาน ห้าม คนและนำสัตว์เข้าไปในบริเวณที่พ่นอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ห้าม เทสารที่เหลือหรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์เครื่องพ่นสารลงใน แม่น้ำ ลำคลอง หรือบริเวณใกล้เคียง เมื่อใช้สารฯ หมดแล้ว ห้ามใช้ไฟเผาภาชนะบรรจุ หรือนำกลับไปใช้อีก ห้าม เด็ก และผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่กำลังฉีดพ่นสาร ห้ามใช้เครื่องพ่นสารกำจัดวัชพืชนี้พ่นสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น
- ขณะผสม ต้อง สวมถุงมือ และหน้ากากเพื่อป้องกันมิให้สารเข้มข้นถูกผิวหนัง และกระเด็นเข้าตา การผสมให้ใช้ไม้กวน ขณะพ่นต้องอยู่เหนือลมเสมอ และควรสวมถุงมือ และหน้ากาก ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ ก่อนกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ หลังจากทำงานเสร็จแล้ว ต้องอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า และซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้วให้กลั้วล้างด้วยน้ำ 3 ครั้ง และรวมเอาน่ำล้างไปใช้ผสมฉีดพ่น กำจัดภาชนะบรรจุโดยทำลายแล้วฝังดิน หรือรวมทิ้งให้ปลอดภัย
- ระวัง อย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนังและเสื้อผ้า ระวังความเป็นพิษของสารต่อพืชอื่น ๆ ที่ปลูกร่วม ปลูกใกล้เคียง หรือปลูกตามหลัง
- ให้พ่นสารสลับกับผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นที่มีอักษรต่างกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืช
- ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตาและอาจทำให้เกิดอาการแพ้ทางผิวหนัง
- เป็นพิษต่อปลา และสัตว์น้ำอื่น ๆ ต้องระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ
อาการเกิดพิษ ถ้าสัมผัสผิวหนังหรือตา อาจเกิดการระคายเคืองถึงปวดแสบปวดร้อน หรือเกิดการอักเสบบวมแดง ถ้าพิษเข้าสู่ร่างกายจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก และหมดสติ
การแก้พิษเบื้องต้น
- ถ้าเกิดอาการพิษเนื่องจากการสูดดม รีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ใช้ และให้พักผ่อนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์
- ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากนาน 15 นาที หากอาการไม่ทุเลา รีบไปพบแพทย์
- ถ้าถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจนสะอาด ถ้าเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที
- ถ้าเข้าปากให้รีบบ้วนน้ำล้างปาก หากกลืนกิน ห้าม ทำให้อาเจียน และห้าม ให้น้ำ เครื่องดื่ม หรืออาหารใด ๆ ทั้งสิ้น รีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันทีพร้อม ภาชนะบรรจุและฉลาก